หิ่งห้อย เป็นแมลงปีกแข็งหรือด้วงในอันดับ Coleopteraวงศ์ Lampyridae ที่มีความหลากหลาย ของชนิดสูง (Bouchard et al., 2011) ทั่วโลกพบหิ่งห้อยมากกว่า 2,000 ชนิด จาก 130 สกุล (Roskov et al., 2019) โดยหิ่งห้อยมีลักษณะเด่น คือ สามารถเปล่งแสงได้จากอวัยวะผลิตแสงที่ ปลายท้อง ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชอบ จึงเกิดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยในบางพื้นที่ ของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันหิ่งห้อยมีจำนวนประชากรลดลงไปอย่างมาก อาจเนื่องจากได้รับ ผลกระทบมาจากสภาพแวดล้อมของถิ่นอาศัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลง สภาพของที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และการเพิ่มขึ้นของแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า ล้วนแล้ว แต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งอาศัยของหิ่งห้อย (อัญชนา, 2552) หิ่งห้อยถูกใช้เป็น ดัชนีบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์หรือความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ เนื่องจากมักพบหิ่งห้อยดำรงชีวิต อยู่ในแหล่งอาศัยที่มีความอุดมสมบูรณ์และสะอาดปราศจากมลพิษ เช่นในพื้นที่สถานีพัฒนา ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ลุ่มน้ำเวฬุ (ท่าสอน) อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ที่เคยมีรายงานการพบ หิ่งห้อย 3 ชนิด คือ Asymmetricata circumdata (Motschulsky), Pteroptyx malaccae (Gorham) และ Pteroptyx valida Olivier (นพรัตน์, 2556) อีกทั้งตัวหนอนของหิ่งห้อยมักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำสะอาด นอกจากนี้ตัวหนอนของหิ่งห้อยดำรงชีวิตแบบเป็นผู้ล่า โดยกินหอย ไส้เดือนดิน และหอยทากเป็นอาหาร เป็นต้น ซึ่งหอยทากเหล่านี้มักเป็นศัตรูพืช และเป็นโฮสต์ตัวกลางของพยาธิ หลายชนิดด้วย (อัญชนา, 2552) ดังนั้นการพบหิ่งห้อยในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ ถึงสมดุลของระบบนิเวศได้
ที่มา: สรศักดิ์ นาคเอี่ยม, กาญจนา สายยศ, ศรุตา มัจฉาเกื้อ, พัลลภ แสงพงษ์พิทยา, วนิดา แกล้วกล้า, ชุตาภา คุณสุข และ ชวัลรัตน์ สมนึก. 2663. ความชุกชุมของหิ่งห้อย (INSECTA: COLEOPTERA: LAMPYRIDAE) ในป่าชายเลนลุ่มน ้าเวฬุ จังหวัดจันทบุรี. PSRU Journal of Science and Technology 5(3): 97-111, 2020.
การสำรวจความชุกชุมของ หิ่งห้อย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ในพื้นที่ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 3 สถานีศึกษา สถานีละ 2 ฝั่ง คือ
ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
ดาวน์โหลดบทความวิจัย