พื้นที่ปกปักทรัพยากร มรภ.รำไพพรรณี
การดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองงานโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ที่มีการน้อมเกล้าฯ ถวายพื้นที่ป่า 50 ไร่ เป็นพื้นที่ปกปักทรัพยากร จนกระทั่งถึงปัจจุบันนับเป็นปีที่ 24 ซึ่งอยู่ในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2569) โดยดำเนินงานตามกรอบงาน 3 กรอบ คือกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินเป็นกิจกรรมย่อยทั้งหมด 7 กิจกรรมย่อย โดยใช้พื้นที่ "ปกปักทรัพยากร" เป็นสื่อกลางในการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นไปตามกรอบกิจกรรมและเป้าประสงค์ต่อปี
สำหรับการบูรณาการสู่การเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ งานสำรวจศึกษาวิจัยทางชีววิทยา จุลชีววิทยา นิเวศวิทยา สรีรวิทยา เกษตรศาสตร์ และอื่น ๆ การจัดกิจกรรมจึงควรมีการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดงานโดยโครงการตามแนวพระราชดำริเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินงานโครงการนี้อย่างเป็นระบบและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 นั้น พบว่าพื้นที่ป่าปกปักทรัพยากรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นโครงการเด่นในด้านการขับเคลื่อนโครงการโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากจังหวัดจันทบุรี โดยเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งการเรียนรู้ที่นักเรียน เยาวชน และคนทุกช่วงวัย ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่า และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย
ดังนั้นกิจกรรมการดำเนินงานภายในพื้นที่ปกปักทรัพยากรในปีงบประมาณ 2567 นี้ มหาวิทยาลัยจึงได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าปกปักในเส้นทางป่าพรุ (โซน A) ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2565 และ 2566 ได้แก่ การสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ป่าพรุบริเวณใกล้อุโมงค์ไม้เลื้อย และบริเวณเส้นทางน้ำ การจัดทำรหัสพิกัด การทำฐานการเรียนรู้ และป้ายพันธุ์ไม้ในพื้นที่ป่าพรุ การปลูกรักษาพันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์สมุนไพร ตลอดจน การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้เห็นคุณค่าของตนเองในฐานะทรัพยากรบุคคลในการร่วมดำเนินงาน อพ.สธ. การเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรของท้องถิ่น งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน งานพิพิธภัณฑ์ และแหล่งจัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ในการบริการวิชาการให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน กลุ่มวิสาหกิจ ชมรม สมาคมต่าง ๆ เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไปให้เข้ามาศึกษากิจกรรมตามกรอบการดำเนินงาน อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการดำเนินการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานสนองพระราชดำริ เพื่อร่วมกันคิดร่วมกันทำในการสร้าง co-production เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร
ได้เเก่ กิจกรรมสำรวจในป่า กิจกรรมปล่อยผีเสื้อแพนซีฟ้า กิจกรรมจัดทำเส้นทางป่าพรุ เพื่อศึกษาทรัพยากรในเส้นทางป่าพรุ ระะยะทาง 135 เมตร
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
กิจกรรมสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ป่าปกปักทรัพยากร ได้เเก่ เห็ด พิศวงแมงมุม พันธุ์ไม้ พันธุ์สมุนไพร กิจกรรมสำรวจสาหร่ายและพันธุ์ไม้น้ำ กิจกรรมสำรวจเห็ดรา
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรม กิจกรรมเพาะเห็ดหลินจือ กิจกรรมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้และเนตรม่วง
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
กิจกรรมแปรรูปกระวาน สละ ระกำ ชะมวง
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
ฐานข้อมูลทรัพยากร จำนวน 9 ฐานข้อมูล ปู เห็ด พืช ผีเสื้อ แมลงปอ หอย หอยทากบก ปลา สาหร่าย
คลิกเข้าระบบฐานข้อมูลทรัพยากร
กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
งานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา งานสวนพฤกษศาสตร์ รร. ชันโรง งานอบรมสละระกำ
กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
การจัดนิทรรศการ การบูณาการกับการเรียนการสอนของหน่วยงานภาายใน และให้บริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอก
เช่น รร ในกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ฐานการเรียนรู้กระวาน โครงการอบรมเพาะเห็ดกินได้